วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บุคคลสำคัญ ประธานาธิบดีของประเทศมาเลเซีย


Tunku abd rahman.jpgตนกู อับดุล ระห์มัน

 ตนกู อับดุล ราห์มาน (Tunku Abdul Rahman, 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2533) หรือ ตนกู อับดุล ราห์มัน ปุตรา อัล-ฮัจ อิบนิ อัลมรหุม สุลตาน อับดุล ฮามิด ชาห์ (Tunku Abdul Rahman Putra Al-Haj ibni Almarhum Sultan Abdul Hamid Shah) เป็นผู้นำการเรียกร้องเอกราช และนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย ได้รับยกย่องเป็นบิดาแห่งประเทศมาเลเซียหรือ Bapa of Malaysia
ประวัติ
ตนกู อับดุล ราห์มัน เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ที่วังอิสตานาเปอลามิน (Istana Pelamin) เมืองอลอร์สตาร์ รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งในขณะนั้นยังอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศไทย ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นของสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2446 เป็นบุตรของเจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิด) (เจ้าพระยาฤทธิสงคราม) Sultan Abdul Hamid Halim Shah ( ค.ศ. 1881– ค.ศ. 1943) สุลต่านองค์ที่ 25 แห่งรัฐเกดะห์ กับหม่อมมารดาชาวไทยนามว่า หม่อมเนื่อง นนทนาคร หรือมะเจ๊ะเนื่อง หรืออีกชื่อว่า ปะดูกา ซรี เจ๊ะเมินยาราลา (Paduka Seri Cik Menjalara) ชายาองค์ที่ 6 ของท่านสุลต่าน ซึ่งเป็นบุตรีของหลวงนราบริรักษ์ ( เกล็บ นนทนาคร ) เจ้าเมืองนนทบุรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตนกู อับดุล ราห์มันเป็นลูกชายคนที่ 14 จากบรรดาลูก 20 คนของสุลต่านอับดุลฮามิด
ตนกู อับดุล ราห์มัน มีพระเชษฐาร่วมพระมารดาคือ ร้อยเอกตนกู ยูซุฟ (รับราชการในกรมตำรวจ) เพื่อนสนิทของเจ้าคุณอนุสาสน์พณิชย์การ
ตนกู อับดุล ราห์มัน มีพระเชษฐาต่างพระมารดาคือ Sultan Badlishah สุลต่านแห่งรัฐเคดะห์องค์ที่ 26  ( ค.ศ. 1943 – ค.ศ. 1958 ) ผู้เป็นพระราชบิดาของ สมเด็จพระราชาธิบดี อัลมูตัสสิมู บิลลาฮี มูฮิบบุดดิน ตวนกู อัลฮัจญ์ อับดุล ฮาลิม มูฮัซซัม ชาห์ อิบนี อัลมาฮูม สุลต่าน บาดลิชาห์ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียลำดับที่ 5 และ 14 หรือสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม สุลต่านแห่งรัฐเคดะห์องค์ที่ 27


อับดุล ราซะก์


อับดุล ราซัค บิน ฮาจิ ดาโต๊ะ ฮุซเซน อัล-ฮัจ (Abdul Razak bin Haji Dato' Hussein Al-Haj) คือนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศมาเลเซีย







ฮุซเซน อน

ฮุซเซน บิน ดาโต๊ะ อน (Hussein bin Dato' Onn) คือ
นายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของประเทศมาเลเซีย
ฮุซเซน อนเป็นบุตรของดาโต๊ะ อน จาฟาร์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอัมโน กับดาติน หะริมะห์ ฮุซเซน เขาได้รับการศึกษาเบื่องต้นจากประเทศสิงคโปร์ และจบการศึกษาจากโรงเรียนภาษาอังกฤษจากเมืองยะโฮร์บาห์รู




Mahathir 2007.jpg มหาเธร์ โมฮัมหมัด


 ประวัติ
มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัด เกิดที่รัฐเกดะห์ เมื่อ พ.ศ. 2468 จบแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. 2498 ทำงานเป็นหมอได้ 2 ปี ก่อนลาออกจากราชการ สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่รัฐบ้านเกิด เป็น ส.ส. อยู่ 14 ปี ก็สมัครเป็นวุฒิสมาชิก เป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
มหาเธร์เคยถูกไล่ออกจากพรรคพันธมิตรอัมโน (UMNO) เมื่อ พ.ศ. 2512 อีกหลายปีกว่าที่จะได้รับการยอมรับให้กลับเข้าพรรคใหม่ได้



อับดุลละห์ อะห์มัด บาดาวี


ดาโต๊ะซรี อับดุลละห์ อะห์มัด บาดาวี (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 - ) นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย รับตำแหน่ง ต่อจาก ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด เมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เป็นผู้นำพรรคอัมโนคนที่ 6และกลุ่มพรรคแนวร่วมแห่งชาติ Barison Nasional (BN) และชนะการเลือกตั้งเมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ. 2547
ประวัติ
อับดุลละห์ อะห์มัด บาดาวี เกิดในกำปงปลิส กปาละบาตาส รัฐปีนัง ในครอบครัวเคร่งครัดในศาสนา บิดาของนายบาดาวีเป็นคนที่เคร่งครัดในศาสนามาก และเป็นสมาชิกพรรคอัมโน ส่วนปู่ของเขาคือชีคอับดุลละห์ บาดาวี ฟาฮิม ซึ่งมีเชื้อสายอาหรับ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งฮิสบูลมุสลิมีน (Hizbul Muslimin) หรือที่รู้จักในปัจจุบันในนามพรรคพาส (PAS) ปู่ของเขามีชื่อเสียงในการต่อสู้เพื่อเอกราช และเป็นผู้นำศาสนาคนแรกของปีนังก่อนได้รับเอกราช ส่วนตาของเขามีนามว่า ฮา ซูเฉียง (Ha Su-chiang) หรือรู้จักกันว่า ฮัสซัน (Hassan) เป็นชาวจีนมุสลิมที่อพยพมาจากเมืองซานย่า ในมณฑลไหหลำ



Najib Tun Razak.jpgนาจิบ ราซะก์

ดาโต๊ะซรี ฮัจญี โมฮัมมัด นาจิบ บิน ตน ฮัจญี อับดุล ราซะก์ (มาเลย์: Dato' Sri Haji Mohammad Najib bin Tun Haji Abdul Razak) หรือ นาจิบ ราซะก์ คือนายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซียคน ที่ 6 และคนปัจจุบัน ก่อนที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอับดุลละห์ บาดาวี อีกด้วย
นาจิบ ราซะก์ในตระกูลนักการเมือง โดยเป็นบุตรชายของนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 (อับดุล ราซะก์) และเป็นหลานของนายกรัฐคนที่ 3 (ฮุซเซน อน)


http://th.wikipedia.org/wiki/รายนามนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

บุคคลสำคัญประธานาธิบดีอินโดนีเซีย

Soekarno.jpgซูการ์โน

(เกิด 6 มิถุนายน ค.ศ. 1901 เสียชีวิต 21 มิถุนายน ค.ศ. 1970) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศอินโดนีเซีย เขามีส่วนสำคัญในการประกาศเอกราชของอินโดนีเซียต่อประเทศเนเธอร์แลนด์ และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีระหว่างปี ค.ศ. 1945 - ค.ศ. 1967 ซูการ์โนถูกบีบให้ลงจากอำนาจโดยอดีตลูกน้องของเขาคือนายพลซูฮาร์โต ซึ่งรับตำแหน่งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1967
ลูกสาวของเขาคือ เมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ห้าของอินโดนีเซีย

Soeharto.jpgซูฮาร์โต

(อังกฤษ: Suharto, 8 มิถุนายน พ.ศ. 2464 - 27 มกราคม พ.ศ. 2551) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียาวนานที่สุดของประเทศเป็นเวลา 32 ปี โดยได้รับฉายาจากนานๆชาติโดยเฉพาะประเทศโลกตะวันตกว่า "The Smiling General"
ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิปดี ซูฮาร์โตเป็นผู้นำทางทหารในยุคที่อยู่ใต้การปกครองของ ญี่ปุ่นและฮอลันดา เรื่อยมาจนได้รับยศพลตรี ซูฮาร์โตมีบทบาทมากจากเหตุการณ์ปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย ในการเคลื่อนไหวเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1965 จนได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากซูการ์โนในปี 1968 จนถึงวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 จึงได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหลังจากการเดินขบวนต่อต้านจากนักศึกษาและประชาชน

Habibie-1.jpgยูซุฟ ฮาบิบี

บาชารุดดิน ยูซุฟ ฮาบิบี (อังกฤษ: Bacharuddin Jusuf Habibie) หรือที่รู้จักกันในชื่อ บี เจ ฮาบิบิ (B J Habibi) ประธานาธิบดีคนที่สามของอินโดนีเซีย เข้ารับตำแหน่งแทนประธานาธิบดีในฐานะรองประธานาธิบดีหลังจากประธานาธิบดีซูฮาร์โตลา ออกจากตำแหน่ง เขาได้รับการการศึกษาขั้นดุษฎีบัณฑิตด้านวิศวกรรมการบิน ทำงานด้านการบินกับบริษัททำกิจการอากาศยานในเยอรมันและดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ด้านการบินด้วยเช่นกัน จนกระทั่งได้รับเชิญจากซูฮาร์โตให้มาดำรง       ตำแหน่งรัฐมนตรีและรองประธานาธิบดี

Gusdur.jpgอับดูร์ระห์มัน วาฮิด

(7 กันยายน พ.ศ. 2483-30 ธันวาคม พ.ศ. 2552) เป็นอดีตประธานาธิบดีแห่งอินโดนีเซียระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ถึง 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 โดยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้แม้ว่าไม่ได้สังกัดในพรรคการเมืองเสียงข้าง มาก กล่าวคือ พรรค PKB ของเขาได้จำนวนที่นั่งในรัฐสภาอินโดนีเซียเพียง 51 ที่นั่ง น้อยกว่าพรรค PDI-P ของนางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี ที่ได้จำนวนที่นั่งถึง 153 ที่นั่ง แต่เขาสามารถต่อรองดึงเสียงสนับสนุนจากพรรคการเมืองอื่นๆ ทำให้นางเมกาวาตีต้องยอมรับตำแหน่งรองประธานาธิบดี

Megawati2.jpg เมกาวาตี ซูการ์โนปุตรี

 ดียะห์ เปร์มาตา เมกาวาตี เซตียาวาตี ซูการ์โนปุตรี (อินโดนีเซีย: Diah Permata Megawati Setiawati Sukarnoputri) เป็นนักการเมืองหญิงชาวอินโดนีเซีย หัวหน้าพรรค PDI-P และยังเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียระหว่างปีพ.ศ. 2544 - 2547 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่อินโดนีเซียมีประธานาธิบดีเป็นผู้หญิง เมกาวาตีเป็นธิดาของซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐ

SusiloBambangYudhoyono.jpg ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน

พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน (อินโดนีเซีย: Susilo Bambang Yudhoyono) เป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในปี พ.ศ. 2547 ภายหลังการปฏิรูปการเมืองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ซึ่งมีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงจากประชาชน โดยผู้ที่ได้เป็นประธานาธิบดีต้องได้เสียงมากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ออกเสียง และหากไม่มีผู้ได้คะแนนเสียงเกินร้อยละ 50 ในการเลือกตั้งครั้งแรก ให้มีการจัดการเลือกตั้งครั้งที่สอง โดยนำเฉพาะผู้ได้คะแนนเสียงอันดับที่ 1 และ 2 มาแข่งขันกันอีกครั้ง
ประธานาธิบดียูโดโยโน ได้รับชัยชนะเหนือนางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรีในการเลือกตั้งครั้งที่สอง และเข้ามาดำรงตำแหน่งด้วยความคาดหวังอย่างมากจากประชาชน ในการบริหารประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจ

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บุคคลสำคัญของไทย

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พระราชประวัติ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าปราสาททอง
และ พระนางเจ้าสิริกัลยานี อัคร-ราชเทวีพระราชมารดาเป็น พระราชธิดา
ในสมเด็จพระ-เจ้าทรงธรรม เสด็จพระราช-สมภพ เมื่อ วันจันทร์
เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175
ครองราชย์
การครองราชย์ราชวงศ์ปราสาททองทรงราชย์ พ.ศ.2199- พ.ศ. 2231 
 ระยะเวลาครองราชย์32 ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 27
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลายรัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
รัชกาลถัดมาสมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เสด็จสวรรคต พ.ศ. 2231 
พระราชกรณียกิจ 
ด้านการทหาร
ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงปราบปรามเมืองน้อยใหญ่
ให้เป็นมาสวามิภักดิ์ ทั้งหัวเมืองทางเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน
ส่วนศึกกับพม่าแม้จะมีอยู่ในเวลานี้ แต่ก็ทรงจัดทัพตีพ่ายกลับไปอยู่เนืองๆ
กิจการของกองทัพนับว่ารุ่งเรืองและยิ่งใหญ่สมเด็จพระนารายณ์
เองก็ทรงชำนาญในการศึก คล้องช้าง และทรงซื้ออาวุธจากต่างชาติ
สำหรับกิจการของกองทัพด้วย
 
การต่างประเทศ
มีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น
อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักร
เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันยังโปรดฯ ให้แต่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี
กับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน
ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาและสยามมากที่สุด
ในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์
 
วิทยาการสมัยใหม่
พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว
 และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ
จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย
 
ด้านวรรณกรรม
สมเด็จพระนารายณ์นับว่าเป็นทั้งนักรบและกวี
ทรงพระ-ราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเรื่อง เช่น
*โคลงพุทธไสยาสน์ป่าโมก
*โคลงพาลีสอนน้อง
*โคลงทศรถสอนพระราม
*ราชสวัสดิ์
*ราชาณุวรรต
*ประดิษฐ์พระร่วง
*สมุทรโฆษคำฉันท์ (ตอนกลาง)
*คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นต้น
พระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์
      ในระหว่างปีพุทธศักราช 2228-2230รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
คณะ-บาทหลวงเจชูอิตชาวฝรั่งเศส ได้มาเผยแพร่ดาราศาสตร์
ในประเทศไทย มีสิ่งก่อสร้าง เช่น หอดูดาววัดสันเปาโล
เป็นหอดูดาวแห่งแรกในประเทศไทย
       นอกจากนี้ในวันที่ 30 เมษายน พุทธศักราช 2231
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง
ที่พาดผ่านแม่น้ำกฤษณะในประเทศอินเดีย พม่า จีน ไซบีเรีย
ไปสิ้นสุดในทวีปอเมริกา สำหรับประเทศไทยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงกล้องทอดพระเนตร
จันทรุปราคาเต็มดวงใน คืนวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2228
ร่วมกับคณะบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ณ พระตำหนักทะเลชุบศร เมืองลพบุรี
พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
 พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2098 - 25 เมษายพ.ศ. 2148) พระนามเดิมว่า พระองค์ดำ โอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชา และ พระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) พระองค์เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก ทรงมีพระเชษฐภคิณีคือพระสุพรรณกัลยาทรงมีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ(องค์ขาว) และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศวรราชาธิราช จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนามนเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจากสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราชเป็นสมเด็จพระนเรศวรราชาธิราช   

ทรงประกาศอิสรภาพ
สมเด็จพระนเรศวรฯทรงหลั่งน้ำจากสุวรรณภิงคารลงเหนือแผ่นดิน ประกาศแก่เทพยดาต่อหน้าที่ประชุมว่า
  ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปกรุงศรีอยุธยาขาดพระราชไมตรีกับกรุงหงสาวดี
มิได้  เป็นมิตรกันดังแต่ก่อนสืบไป "
  ในปีที่ทรงประกาศอิสรภาพ สมเด็จพระนเรศวรฯทรงมีพระชนมายุได้ 29 พรรษาหลังจาก ประกาศอิสรภาพ แล้วจากนั้นจึงยกกองทัพหลวงจากเมืองแครงไปตีเมืองหงสาวดี


สงครามยุทธ์หัตถี
ตลอด รัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากหงสาวดี และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม
 
พระราชกรณียกิจ
พ.ศ. 2113 เสด็จออกร่วมรบกับทหารโดยขับไล่กองทัพเขมรได้สำเร็จ
พ.ศ. 2114 ได้รับสถาปนาให้ปกครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา
พ.ศ. 2117 เสด็จไปรบที่เวียงจันทน์ เผอิญทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงเสด็จกลับ
พ.ศ. 2121 ทรงทำสงครามขับไล่พระยาจีนจันตุออกไปจากกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2127 ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนคนไทยกลับพระนคร
พ.ศ. 2127-พ.ศ. 2130 พม่ายกกองทัพมาตีไทยถึง 4 ครั้ง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป
พ.ศ. 2133 ทรงเสด็จครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา
พ.ศ. 2135 ทรงทำสงครามยุทธหัตถี และมังกะยอชะวา สิ้นพระชนม์
พ.ศ. 2136 ทรงยกกองทัพไปตีเขมรและจับพระยาละแวกทำพิธีปฐมกรรม
พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2141 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
       พ.ศ.2148 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงอังวะ เมื่อไปถึงเมืองหางหรือเมืองห้างหลวงทรงพระประชวร เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์ เสด็จสวรรคต ณ ทุ่งแก้ว เมืองห้างหลวง ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง พระชนมายุ 50 พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ 15 ปี 
 
พระราชประวัติ 
              พญาลิไท หรือ พระยาลิไท หรือ พระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรม-ราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชา   ทรงเป็นพระราชโอรสของพระยาเลอไทและพระราชนัดดา(หลานปู่) ของพ่อขุนรามคำแหง  ครองราชย์  พ.ศ. ๑๘๙๐ แต่ไม่ทราบปีสิ้นสุดรัชสมัยที่แน่นอน สันนิษฐานว่าอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๑ - ๑๙๖๖  พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงเป็นแบบฉบับของกษัตริย์ในคติธรรมราชา ทรงปกครองบ้านเมืองและอาณาประชาราษฎร์ด้วยทศพิธราชธรรม ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองจนสุโขทัยกลายเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติพระองค์ชักนำชนทั้งหลายให้พ้นทุกข์  หลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่าพระองค์มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกเป็นอย่างดี  ได้แก่  วรรณกรรมเรื่อง  ไตรภูมิพระร่วง  วรรณคดี ชิ้นแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๘๘ ที่ทรงนิพนธ์ขึ้นตั้งแต่ก่อนเสวยราชย์หลังจากทรงเป็นรัชทายาทครองเมืองศรี สัชนาลัยอยู่ ๘ ปี จึงเสด็จมาครองสุโขทัยเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๐ โดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยหลังสิ้นรัชกาลพ่อขุนงัว นำถมแล้วเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เป็นพระโอรสในรัชกาลที่ ๔  กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม  มีพระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร  ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕  ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในพระบรมหมาราชวัง  ในสมัยรัชกาลที่ ๕  ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ  แล้วเลื่อนเป็นกรมหลวง  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖  ได้เลื่อนขึ้นเป็นกรมพระยา  และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗  ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบ้านเมือง โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕  ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วนความวิริยะอุตสาหะ  มีความรอบรู้  มีความซื่อสัตย์  และจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์  

 http://ilovegunzii.blogspot.com/