วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

บุคคลสำคัญของจีน

 ซุนวู หรือ ซุนจื้อ

http://www.thaisamkok.com/article-930-%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B9%20%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%20%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD.html
ได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญาที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับเม่งจื้อ แม้ว่าในสมัยที่มีชีวิตอยู่ ปรัชญาของซุนจื้อจะได้รับความนิยมมากกว่าก็ตาม แนวคิดและหลักคำสอน ซุนจื้อมีทรรศนะเกี่ยวกับมนุษย์ว่า ถ้าหากจะปล่อยให้มนุษย์เติบโตไปตามธรรมชาติโดยไม่มีการปลูกฝังอบรมหรือ เปลี่ยนแปลงแล้วมนุษย์จะประสบแต่ความทุกข์ยากไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้น จึงต้องมีการฝึกฝนอบรมสั่งสอนมนุษย์ให้ยึดมั่นในหลี ซึ่งหมายถึงจารีตประเพณีที่พึงปฏิบัติในสังคมจีนสมัยโบราณ 


 อิทธิพลของลัทธิซุนจื้อที่มีต่อสังคมจีน

• ด้านครอบครัว ลัทธิซุนจื้อสอนให้บุคคลเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว เป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา และเป็นบิดามารดาที่ดีของบุตร

• ด้านการศึกษา ลัทธิซุนจื้อสนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาอย่างมีระเบียบแบบแผนและถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี

• ด้านการปกครอง ลัทธิซุนจื้อสนับสนุนให้อำนาจการปกครองอยู่ที่ศูนย์กลาง ให้ผู้ปกครองมีอำนาจโดยเด็ดขาดผู้เดียว 


ขงจื้อ

http://www.thaisamkok.com/article-931-%E0%B8%82%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD.html

ซึ่งเกิดในตระกูลที่ยากจนแต่มีเกียรติยศ ณ เมืองชีฟู่ ในรัฐหลู่ ขงจื้อเป็นบุตรของขุนนางคนหนึ่งในแคว้นชานตุง บิดาถึงแก่กรรมตั้งแต่ขงจื้อยังเล็กๆ และมารดาก็เลี้ยงท่ามกลางความยากจน มารดาของขงจื้อพยายามให้ขงจื้อได้รับการศึกษาอย่างดีที่สุดในชนบท แนวคิดและหลักคำสอน ขงจื้อเป็นศาสดาที่สำคัญของชาวจีน เป็นนักปรัชญาทางฝ่าจริยศาสตร์ที่โลกยกย่องว่าเป็นนักคิดที่สำคัญคนหนึ่ง ของโลก คำสอนเด่นที่สุดของขงจื้อก็คือ "ถ้าไม่อยากให้ใครทำอะไรต่อเรา ก็จงอย่าทำสิ่งนั้นต่อเขา " คำสอนที่เป็นสาระสำคัญที่สุดของขงจื้อคือ สอนให้มีความรัก  และเชื่อถือถ้อยคำในครอบครัวก่อนแล้วจึงให้ตีวงกว้างออกไปถึงรัฐ ขงจื้อจึงเที่ยวสั่งสอนประชาชนให้เห็นถึงความสำคัญของหลักคำสอนนี้ 

ทัศนะด้านต่างๆ ของขงจื้อ

ทัศนะเกี่ยวกับโลก ในปรัชญาของขงจื้อไม่มีข้อความกล่าวถึงกำเนิดของโลกไว้เลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าขงจื้อไม่ได้สนใจเลยว่าโลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ประกอบขึ้นด้วยอะไร จะดำเนินไปและสิ้นสุดลงอย่างไร หรือไม่ ขงจื้อก็คิดและเชื่อเช่นเดียวกับชาวจีนทั่วไป คือ โลกเกิดขึ้นจากการผสมของมูลธาตุ 2 อย่างที่เรียกว่า หยินหยาง เมื่อมูลธาตุ 2 อย่างนี้มารวมกัน โลกและสรรพสิ่งก็เกิดขึ้น ไม่ได้มีพระเป็นเจ้าองค์ใดมาเกี่ยวข้อง
ทัศนะเกี่ยวกับมนุษย์ ขงจื้อไม่ได้สนใจว่าแรกเริ่มเดิมทีมนุษย์มาจากไหน หรือเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ที่ขงจื้อให้ความสนใจ คือ มนุษย์ตามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันซึ่งมีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม มีสุขทุกข์ ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง เป็นไปตามอิทธิพลของสภาพแวดล้อมในสังคม มนุษย์ที่สมบูรณ์ตามทัศนะของขงจื้อ คือ มนุษย์ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม
อิทธิพลของลัทธิขงจื้อที่มีต่อสังคมจีน เมื่อกล่าวถึงอารยธรรมจีนตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปฏิวัติในปี ค.ศ.1911 คนจีนมักจะผูกพันกับลัทธิขงจื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกือบเหมือนกับคำว่าจีนตลอดมา ขงจื้อมิได้แนะนำให้คนปฏิบัติในสิ่งที่เป็นไปมิได้ เขาตั้งมาตรฐานให้ทุกคนปฏิบัติได้หากมีความพยายาม ชาวจีนเชื่อว่าประเทศจีนจะดีขึ้นถ้ามนุษย์ปฏิบัติตามแบบขงจื้อ จะดีขึ้นทั้งในด้านชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว สังคม และบ้านเมือง 


ฉินสือห่วงตี้(จิ๋นซีฮ่องเต้)

http://www.thaisamkok.com/article-946-%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%89(%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%8B%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%AE%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%89).html
มีพระนามเดิมว่า อิ๋งเจิ้ง เป็นโอรสองค์โตในฉินอ๋อง จื่อฉู่ กับพระสนม เจ้าจี ซึ่งพระสนมนางนี้เดิมทีเคยเป็นนางรำของหลี่ปู้เหว่ย (ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือจื่อฉู่ให้ได้ขึ้นเป็นฉินอ๋อง) ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของ หลี่ปู้เหว่ยเป็นอย่างมาก ว่ากันว่าในตอนที่ยกเจ้าจีให้ไปเป็นสนมของจื่อฉู่นั้น เจ้าจีกำลังตั้งครรภ์บุตรของหลี่ปู้เหว่ยอยู่ด้วยโดยที่จื่อฉู่ไม่ทรงทราบ สันนิษฐานว่าประสูติเมื่อ พฤศจิกายน/ธันวาคม พ.ศ. 283 (260 ปีก่อนคริสต์กาล) ซึ่งต่อมาเด็กคนนี้ก็คือ อิ๋งเจิ้ง หรือ ฉินสือหวงตี้ ในอนาคตนั้นเอง ฉินอ๋องจื่อฉู่ ปกครองแคว้นฉินได้ไม่นานก็ทรงประชวรและสวรรคตไป (บางแหล่งว่าโดนหลี่ปู้เหว่ย ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีแคว้นฉินวางยาจนสวรรคต) ตอนนั้นอิ๋งเจิ้งมีอายุได้ 13 ชันษา ในฐานะโอรสองค์โตซึ่งอยู่ในฐานะรัชทายาท จึงได้ก้าวขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งฉินอ๋องคนใหม่ แต่มีการคัดค้านจากเหล่าขุนนางบางกลุ่มที่สงสัยถึงชาติกำเนิดที่แท้จริงของ อิ๋งเจิ้ง จึงได้พยายาต่อต้านและพยายามพลักดันให้ เฉิงเจียว โอรสองค์รองในจื่อฉู่ขึ้นเป็นฉินอ๋องแทน ทำให้เกิดศึกสายเลือดขึ้นมา สุดท้ายอิ๋งเจิ้งเป็นฝ่ายที่มีชัย หลังจากที่ขึ้นครองตำแหน่ง ฉินอ๋องเจิ้ง ได้โปรดให้แต่งตั้งหลี่ปู้เหว่ยขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ซึ่งนั้นก็ทำให้พระองค์เป็นได้แค่เพียงหุ่นเชิดของหลี่ปู้เหว่ยเท่านั้น 

 พระเจ้าฮั่นโกโจ(เล่าปัง)

http://www.thaisamkok.com/article-947-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%88(%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%87).html
ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 206 ก่อนค.ศ.-ปีค.ศ. 220) เป็นจักรพรรดิผู้มีกำเนิดมาจากสามัญชนและด้อยการศึกษาหนึ่งในสององค์ใน ประวัติศาสตร์ของจีน หลิวปังเกิดในอำเภอเพ่ยเสี้ยน (ปัจจุบันอยู่ในภาคเหนือของ มณฑลเจียงซู) เป็นลูกชาวนาธรรมดาที่มีฐานะยากจนมาแต่เดิม เคยรับ ใช้ทางการบ้านเมือง มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหมวดปราบโจรผู้ร้าย

หลิวปังเป็นคนใจกว้างเนื่องจากเห็นใจแรงงานเกณฑ์ จึงแอบ ปล่อยพวกเขาให้เป็นอิสระ ทำให้ตัวเองจำต้องหลบหนีไปจากบ้านเกิด ปี 209 ก่อนค.ศ.หลิวปังได้ก่อการกบฏด้วยการรวบรวมสมัครพรรคพวก เข้ายึดเพ่ยเสี้ยนซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนหลังจากเฉิ่นเซิ่งกับอู๋กว่างได้ชู ธงก่อกบฏขึ้นก่อน ต่อมาหลิวปังได้ยกทัพบุกเข้าเสียนหยางที่เป็น เมืองหลวงของราชวงศ์ฉินและได้โค่นล้มการปกครองของราชวงศ์ฉิน ในที่สุด 

เมื่อหลิวปังได้เข้าครองเมืองเสียนหยางโดยเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ได้ทำร้ายหรือเข่นฆ่าพวกเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ฉินแต่อย่างใด แต่กลับสั่งการให้เก็บรักษาทรัพย์สมบัติในพระราชวังและวังอื่นๆตลอดจนท้อง พระคลังของราชวงศ์ฉินไว้อย่างดี นอกจากนั้น เขายังสั่ง ทหารของตนไม่ให้ปล้นชิงทรัพย์สินที่มีค่าจากประชาชน ขณะเดียวกัน ตนเองก็ไม่รับของมีค่าที่ชาวเมืองมอบให้ ยิ่งกว่านั้น หลิวปังยังประกาศยกเลิกกฎหมายเก่าสมัยฉินซีฮ่องเต้ที่ได้บัญญัติโทษไว้โหด ร้ายทารุณมาก เช่น ใครฆ่ากันตายต้องประหารชีวิตสาม ชั่วโคตร เป็นต้น โดยให้ใช้ ” กฎหมายใหม่ ” ของตนที่เรียกว่า “ บัญญัติ สามประการ ” แทนกล่าวคือ “ ฆ่าคนต้องชดใช้ชีวิตทำร้ายร่างกายหรือ โจรกรรมทรัพย์สินต้องชดใช้ความเสียหาย ” ด้วยเหตุนี้ หลิวปังจึงได้รับ การสนับสนุนจากประชาชนโดยทั่วไป 
ต่อ มาภายหลัง หลิวปังได้ทำการสู้รบเป็นเวลากว่า 4 ปี กับกองทัพที่นำโดยเซี่ยงหวี่ หรือฉ้อปาอ๋อง ซึ่งเป็นอีกกองกำลังหนึ่งที่ ลุกขึ้นต่อต้านราชวงศ์ฉินเช่นกัน ปี 202 ก่อน ค.ศ. หลิวปังได้นำกำลัง ทหารจำนวน 3 แสนนายปิดล้อมกองทัพของเซี่ยงหวี่ ทำให้เซี่ยงหวี่จน มุมและต้องฆ่าตัวตายในที่สุดหลิวปังได้รับชัยชนะเบ็ดเสร็จและ สถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นที่มณฑลซานตุงใน ปัจจุบันเมื่อปี 202 ก่อน ค.ศ.

พระเจ้าฮั่นโกโจเก่งในการใช้คน จึงสามารถพลิกสถานการณ์จากร้ายให้ กลายดีได้ ในขณะที่พระเจ้าฮั่นโกโจยกทัพไปถึงเมืองเสียนหยาง มีทหารหนีจากเขาไปบ่อยๆ มีนายทหารผู้น้อยคนหนึ่งชื่อหันสิ้นก็ได้ หนีไปด้วย เซียวเหอซึ่งเป็นขุนนางฝ่ายพลเรือนคนสำคัญที่หลิวปังไว้ วางใจและเชื่อถือที่สุดรู้ข่าวนี้ก็ไปไล่ตามตัวเขากลับด้วยตนเองโดยไม่ทัน บอกหลิวปัง จากนั้น ก็นำตัวหันสิ้นไปทูลถวายหลิวปังว่า “ หันสิ้น เป็นนักการทหารที่มีความสามารถ ” แม้เวลานั้น หันสิ้นจะยังไม่มี ชื่อเสียง แต่หลิวปังก็กล้าที่จะแต่งตั้งเขาให้เป็นแม่ทัพตามข้อเสนอ ของเซียวเหอและในเวลาต่อมา หันสิ้นได้กลายเป็นแม่ทัพผู้มีความ เก่งกาจและ เป็นนักยุทธศาสตร์ผู้ยอดเยี่ยม ได้สร้างคุณงามความดี มากมายในการ สร้างราชวงศ์ฮั่นของหลิวปัง

พระเจ้าฮั่นโกโจ เป็นนักการเมืองและนักปกครองชั้นยอด เนื่องจากเคย เป็นลูกชาวนาผู้ต่ำต้อย หลิวปังจึงมีความเห็นอกเห็นใจและ เข้าใจในทุกข์สุขของประชาชนทั่วไป ในแง่การทหาร หลิวปังรบกับเซี่ยงหวี่ มักจะแพ้มากกว่าชนะ แต่ในแง่การเมือง หลิวปังชนะใจประชาชน รวมทั้งทหารหลวงของจักรพรรดิราชวงศ์ฉิน ด้วย และได้ประสบความชัยชนะย่างสมบูรณ์ในที่สุด

เมื่อพระเจ้าฮั่นโกโจได้สถาปนาราชวงศ์ซีฮั่นตะวันตกแล้วก็ได้ใช้มาตร การต่างๆ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและทำการผลิต เนื่องจากสงครามได้ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปีทำให้จำนวนประชากรลดน้อยลง ตามการทูลเสนอของลู่เจี่ย เสนาบดี พระเจ้าฮั่นโกโจได้ดำเนินนโยบายที่นุ่มนวลกว่าสมัยราชวงศ์ฉิน ได้ปลดระวาง ทหารให้กลับบ้านเพื่อทำไร่ไถนา ยกเว้นการเกณฑ์แรงงาน (หมายถึงที่ชนชั้นปกครองในสมัยโบราณที่บีบบังคับกะเกณฑ์ ประชาชนมาทำงานให้โดยไม่มีค่าตอบแทน)เป็นเวลาหลายปีเพื่อให้ สามารถทำการเพาะปลูกให้ได้ผล อนุญาตให้บรรดาผู้ลี้ภัยสงครามได้ กลับคืนสู่ถิ่นฐานของตน โดยคืนบ้านและที่ดินให้ตามเดิม ให้อิสรภาพแก่ผู้ที่ต้องขายตัวเป็นทาสเพื่อจะได้ไม่อดตายและลดภาษีที่ดินลง ภาษีรัชชูปการก็ลดลง เช่นกัน

ทางด้านปัญหาการปกครองอาณาจักรนั้น ในชั้นต้น พระเจ้าฮั่นโกโจทรงใช้การปกครองที่ผสมผสานกันระหว่างการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ อำนาจส่วนกลางซึ่งองค์จักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้เคยใช้กับการกระจาย อำนาจโดยแต่งตั้งขุนพลที่มีความดีความชอบเป็นพิเศษในสงคราม และเชื้อพระวงศ์สำคัญๆให้เป็นเจ้าหรือ “ หวาง หรือ อ๋อง ” ไปครองเมืองโดยมีอำนาจ ปกครองดินแดนเขตแคว้นแบบศักดินาหรือเรียกว่า “ ฟงกั๋ว ” เวลาต่อมา หลิวปังเริ่มกำจัดพวก “ หวาง ” ที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ไปหมดและแต่ง ตั้ง “ หวาง ” ขึ้นใหม่ 9 องค์ด้วยกัน ล้วนเป็นเชื้อพระวงศ์แซ่หลิวทั้งสิ้น

ภายหลังราชวงศ์ฉินสิ้นสุดลง ชนกลุ่มน้อย “ ซ่งหนู ” ที่มี ความเก่งกาจในการรบบนหลังม้าทางภาคเหนือของจีนก็ถือโอกาส บุกรุกลงมาทางใต้ และรุกรานเมืองที่อยู่ชายแดนของราชวงศ์ฮั่น ปี 200 ก่อน ค.ศ. หลิวปังได้ยกทัพไปปราบปรามด้วยตนเอง ถูกทหารม้าจำนวน 3 แสนคนของพวก ซ่งหนูโอบล้อมถึง 7 วัน 7 คืนที่ไบ๋เติง (ที่ตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลซานซี) หลังจากพ้นอันตราย เอาตัวรอดมาได้แล้ว หลิวปังเริ่มใช้นโยบายปรองดองกับพวกซ่งหนูขึ้นและเปิดตลาดที่อยู่ชายแดน ระหว่างฮั่นกับซ่งหนูขึ้น เพื่อผ่อนคลาย ความสัมพันธ์อันตึงเครียดของสองฝ่าย

พระเจ้าฮั่นโกโจในวัยหนุ่มเป็นผู้ที่ไม่มีพิธีรีตองและดูหมิ่นสำนักปรัชญา ขงจื่อ เมื่อตั้งตนเป็นจักรพรรดิแล้ว พระองค์ทรงเห็นว่า ตนเองได้พิชิตอาณาจักรมาได้ด้วยการรบบนหลังม้า จึงเห็นว่า หนังสือของสำนักปรัชญาขงจื่อไร้ประโยชน์ ลู่เจี่ยเสนาบดีจึงทูล ว่า “ อาณาจักรนั้น สามารถพิชิตได้ แต่จะปกครองบนหลังม้าไม่ได้ ” หลิวปังจึงสั่งให้ลู่เจี่ยแต่งหนังสือ เพื่อสืบหาความผิดพลาดและความ ล้มเหลวของจักรพรรดิราชวงศ์ฉินที่ยังผลให้ราชวงศ์ฉินต้องถูกโค่นล้มในที่สุด เพื่อให้คนรุ่นหลังถือเป็น อุทาหรณ์และรับเป็นบทเรียน

หลิวปังได้ตั้งตนเป็นจักรพรรดิในปีที่ 202 ก่อน ค.ศ. และย้ายเมืองหลวงจากเสียนหยางไปยังเมืองฉางอาน แต่ศักราชของราชวงศ์ฮั่น เริ่มนับตั้งแต่หลิวปังได้รับแต่งตั้งเป็น “ ฮั่นอ๋อง ” ในปีที่ 206 ก่อนค.ศ. หลังจากจักรพรรดิหลิวปังสิ้นพระชนม์และจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่นในภายหลังได้ ถวายพระนามในฐานะปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ฮั่นว่า “ ฮั่นเกาจู่ ”

พระเจ้าฮั่นโกโจยกทัพไปปราบปรามกลุ่มกบฏของอิงปู้ ถูกธนูยิงจน ประชวรหนักและสิ้นพระชนม์ในปี 195 ก่อน ค.ศ.

  พระเจ้าถังไท้จง

http://www.thaisamkok.com/article-948-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%87.html 

คือ ฮ่องเต้ผู้ถูกยกย่องว่ายิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์จีนเรื่อง ราวเริ่มตั้งแต่ที่ หลี่ยวน หรือ ถังเกาจู่ ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถังมีทายาทที่เกิดจากพระมเหสี 4 คน • คนแรกนาม หลี่เจี้ยนเฉิง

• คนที่สองนาม หลี่ซื่อหมิน

• คนที่สามนาม หลี่เสวียนป้า เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปีดี

• คนที่สี่นาม หลี่หยวนจี๋

หลังจากราชวงศ์สุยสิ้นภายใต้เงื้อมมือของขุนนางตระกูลหลี่นำโดยหลี่ยวน เมื่อตั้งราชวงศ์ถังขึ้นได้สักพักหนึ่งถังเกาจู่ หลี่ยวนที่มีบุตรชายคนโต หลี่เจี้ยนเฉิง เป็นผู้คุมทัพซ้าย และบุตรชายคนรอง หลี่ซื่อหมิน เป็นผู้คุมทัพขวา ก็พระราชทานตำแหน่งให้บุตรทั้งสาม โดยแต่งตั้ง หลี่เจี้ยนเฉิงเป็นรัชทายาท หลี่ซื่อหมินเป็น ฉินอ๋อง และหลี่หยวนจี๋เป็นฉีอ๋อง

ด้วยความที่ทั้ง หลี่เจี้ยนเฉิงและหลี่ซื่อหมิน ต่างเป็นผู้มีความสามารถ มักใหญ่ใฝ่สูง และต่างก็เปรียบเป็นมือซ้ายและมือขวาช่วยเหลือบิดาให้สามารถครองแผ่นดินได้ สำเร็จด้วยกันทั้งคู่ ทำให้เกิดการเขม่นกันขึ้นมาระหว่างพี่-น้องจนกลายเป็น ' ศึกสายเลือด ' ในที่สุด

พี่น้อง 3 คนถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายหนึ่ง หลี่หยวนจี๋ก็เข้าข้างพี่ชายคนโตหลี่เจี้ยนเฉิง ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง คือ หลี่ซื่อหมินนั้นถูกโดดเดี่ยว

มีนักประวัติศาสตร์จีนวิเคราะห์เอาไว้ว่าสาเหตุที่น้องเล็กหลี่หยวนจี๋ ที่ขึ้นชื่อในวรยุทธ์อันสูงส่งมาเข้ากับหลี่เจี้ยนเฉิงนั้น ประการหนึ่งก็เนื่องมาจาก หลี่หยวนจี๋มองเห็นว่า สติปัญญา ความสามารถและชื่อเสียงของหลี่ซื่อหมินนั้นเหนือกว่าตนมาก หากตนเข้ากับฝ่ายหลี่ซื่อหมิน ถึงแม้จะปราบหลี่เจี้ยนเฉิงได้สำเร็จตนก็ไม่มีวันจะได้ขึ้นเป็นฮ่องเต้ แต่หากตนร่วมมือกับพี่ใหญ่ปะทะกับพี่รอง ในภายภาคหน้าโอกาสขึ้นเป็นฮ่องเต้ของตนน่าจะมีสูงกว่า

ด้านพระบิดา หลี่หยวน เมื่อรับทราบถึงความขัดแย้งระหว่างพี่-น้อง ที่รุนแรงถึงขั้นกลายเป็นศึกสายเลือดเช่นนี้ก็มิอาจเข้าข้างใครได้มากแต่ก็ รู้สึกหวั่นพระทัยอยู่เช่นกันว่าหากปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิม คือ บุตรคนโตจะต้องเป็นรัชทายาทเป็นผู้สืบราชวงศ์ ก็กลัวอีกว่า หลี่เจี้ยนเฉิงที่มีนิสัยลุ่มหลงในสุรานารีจะนำพาราชวงศ์ถังของตนไปสู่จุดจบ อย่างรวดเร็วดังเช่นราชวงศ์สุยที่ หยางกว่าง เล่นละครตบตาพระบิดา ฮ่องเต้สุยเหวินตี้ จนได้ตำแหน่งฮ่องเต้ ดังนั้นพระองค์จึงไม่ได้ออกหน้าห้ามปรามศึกสายเลือดครั้งนี้อย่างโจ่งแจ้ง เท่าใดนัก*

กระบวนการรุกไล่ของพี่ใหญ่และน้องเล็ก ต่อพี่รองหลี่ซื่อหมินนั้น มีตั้งแต่การทูลพระบิดาขอกำลังพลของหลี่ซื่อหมินไปออกรบจนไปถึงการร่วมมือ กับสนมคนโปรดของพระบิดาใส่ร้ายหลี่ซื่อหมินว่ากำลังคิดไม่ซื่อ วางแผนยึดอำนาจจากพระบิดา

หลี่ซื่อหมินที่นำทัพปราบไปทั่วแผ่นดิน นับว่าสร้างผลงานความชอบที่โดดเด่น เป็นที่ริษยาของพี่น้อง ประกอบกับระหว่างการกวาดล้างกองกำลังน้อยใหญ่นั้นได้เพาะสร้างขุมกำลังทาง ทหาร และยังชุบเลี้ยงผู้มีความสามารถไว้ข้างกายจำนวนมาก อาทิ อี้ว์ฉือจิ้งเต๋อ หลี่จิ้ง ฝางเซวียนหลิ่ง เป็นต้น อันส่งผลคุกคามต่อรัชทายาทหลี่เจี้ยนเฉิง เป็นเหตุให้รัชทายาทเจี้ยนเฉิงร่วมมือกับฉีหวังหลี่หยวนจี๋เพื่อจัดการกับ หลี่ซื่อหมิน ปัญหาข้อขัดแย้งดังกล่าวทำให้สองฝ่ายยิ่งทวีความเป็นปรปักษ์มากขึ้น

จวบจนกระทั่งปี 626 หลี่ซื่อหมินชิงลงมือก่อน โดยกราบทูลเรื่องราวต่อถังเกาจู่ ถังเกาจู่จึงเรียกทุกคนให้เข้าเฝ้าในเช้าวันรุ่งขึ้น ขณะที่ขบวนของหลี่เจี้ยนเฉิงและหลี่หยวนจี๋ผ่านเข้าประตูเสวียนอู่นั้น (ประตูใหญ่ทางทิศเหนือของวังหลวง) หลี่ซื่อหมินก็นำกำลังเข้าจู่โจมสังหารรัชทายาท และฉีอ๋อง เหตุการณ์ครั้งนี้ต่อมาได้รับการเรียกขานว่า เหตุเปลี่ยนแปลงที่ประตูเสวียนอู่

ภายหลังเหตุการณ์ ถังเกาจู่แต่งตั้งหลี่ซื่อหมินเป็นรัชทายาท จากนั้นอีกสองเดือนต่อมาก็ทรงสละราชย์ ให้หลี่ซื่อหมินขึ้นครองบัลลังก์ต่อมา ทรงพระนามว่า ถังไท่จง และประกาศให้เป็นศักราชเจินกวน (ปี 627 – 649)

ภายหลังการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิถังไท่จง สังคมจีนมั่นคงและมีระเบียบ จนมีคำกล่าวว่าหากทำของตกลงบนถนน ก็มิต้องหวั่นใจว่าจามีคนแอบมาเก็บไป เวลานอนตอนกลางคืนก็มิต้องลงกลอนประตู ดังนั้นช่วงระยะเวลาการปกครองของจักรพรรดิถังไท่จง จึงเป็นแบบอย่างในการปกครองที่เลื่องลือของคนรุ่นหลัง ทรงดำเนินนโยบายที่เปิดกว้าง ผ่อนปรนการเรียกเก็บภาษี ลดการลงทัณฑ์ที่รุนแรง แต่เน้นความถูกต้องยุติธรรมมากกว่า เร่งพัฒนากำลังการผลิต จัดสรรที่ดินทำกินให้กับราษฎรได้กลับคืนสู่ไร่นาและดำเนินวิถีชีวิตตามปกติ

ช่วงเวลาดังกล่าว มีการตรากฎหมายเพิ่มขึ้น เปิดการสอบคัดเลือกบุคลากรเข้ารับราชการจากบุคคลทั่วไป ไม่เลือกยากดีมีจน ไม่จำกัดอยู่แต่ชนชั้นขุนนางดังแต่ก่อน ทั้งมีการตรวจตราการทำงานของบรรดาขุนนางท้องถิ่นอย่างเข้มงวด เลือกใช้คนดีมีปัญญา ถอดถอนคนเลว นอกจากนี้ ยังเปิดรับฟังความคิดเห็นและคำทักท้วงจากขุนนางรอบข้าง เพื่อแก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดในการบริหารแผ่นดินได้อย่างทันการณ์ รอบข้างจึงเต็มไปด้วยอัจฉริยะบุคคลที่ตั้งอกตั้งใจทำงาน อย่าง ฝางเซวียนหลิ่ง เว่ยเจิง หลี่จิ้ง เวินเหยียนป๋อ เป็นต้น อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ศักราชเจินกวนมีการบริหารการปกครองที่โปร่งใสและ มีเสถียรภาพ

ในด้านแนวคิดการศึกษา ถังไท่จงให้ความสำคัญต่อการรวบรวมและจัดเก็บตำรับตำราความรู้วิทยาการและ ประวัติศาสตร์เป็นหมวดหมู่ ทั้งยังเปิดกว้างในการนับถือและเผยแพร่แนวคิดในลัทธิศาสนาต่างๆ เช่น พุทธศาสนา เต๋า หยู(ลัทธิขงจื้อ) รวมทั้งศาสนาบูชาไฟของเปอร์เซีย ศาสนาแมนนี และคริสตศาสนา

เหตุการณ์ที่มีความสำคัญต่อการเผยแพร่พุทธศาสนา ได้แก่ หลวงจีนเซวียนจั้ง หรือพระถังซำจั๋ง ได้เดินทางไปยังประเทศอินเดียอันไกลโพ้น เพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎกกลับมา แปลเป็นภาษาจีนและเผยแพร่ออกไป ทำให้พุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์ถังเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในเวลาต่อมา

นอกจากนี้ ถังไท่จงยังส่งเสริมและให้ความสำคัญกับการจัดแบบแผนการศึกษา มีการสร้างสถานศึกษาสำหรับบรรดาลูกหลานผู้นำ เรียกว่า สำนักศึกษาหงเหวินก่วน เปิดสอนศาสตร์สาขาต่างๆในการเป็นผู้นำ อาทิ การบริหารการปกครอง กฎหมาย วรรณคดี อักษรศาสตร์ การคำนวณ ฯลฯ เพื่ออบรมบ่มเพาะบรรดาลูกหลานที่เป็นทายาทเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง และชนชั้นสูง ทั้งยังจัดตั้งสำนักศึกษาในศาสตร์สาขาต่างๆทั่วราชอาณาจักร บรรดาเจ้าผู้ครองแคว้นรอบนอกจึงนิยมส่งบุตรหลานของตนเข้ามาศึกษายังนครฉาง อัน ทำให้ในเวลานั้นจีนกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิทยาการต่างๆในแถบภูมิภาคนี้

ในรัชสมัยนี้ ได้มีการปฏิรูปโครงสร้างการปกครอง ที่เน้นการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง เพื่อป้องกันการก่อหวอดของผู้มีกำลังทหารอยู่ในมือดังที่ผ่านมา ข้าราชการท้องถิ่นไม่มีสิทธิเคลื่อนพล ในภาวะสงคราม ส่วนกลางจะเป็นผู้สั่งระดมพลจากที่ต่างๆ จากนั้นจัดส่งนายทัพไปบัญชาการรบ ภายหลังเสร็จศึก ทหารกลับสู่กรมกอง แม่ทัพกลับคืนสู่ราชสำนัก

การขยายแสนยานุภาพของราชอาณาจักร ถังไท่จงได้ดำเนินการทั้งด้านการทหารและการทูตไปพร้อมกัน อาทิ ในปี ค.ศ.630 ทัพถัง นำโดยแม่ทัพหลี่จิ้งและหลี่จี ปราบทูเจี๋ยว์ตะวันออก ขยายพรมแดนทางเหนือขึ้นไป (ปัจจุบันคือ มองโกเลียใน) ภายหลังทูเจี๋ยว์ตะวันออกล่มสลาย ถังไท่จงดำเนินนโยบายเปิดกว้างให้อิสระแก่ชนเผ่าฯ ในการดำรงชีวิต มีชนเผ่าทูเจี๋ยว์บางส่วนอพยพเข้ามาตั้งรกรากในฉางอัน ทั้งมีไม่น้อยที่เข้ารับราชการทหาร หลอมกลืนเข้ากับวัฒนธรรมภาคกลางไป

ซงจั้นกั้นปู้หรือพระเจ้าสรองตาสันคัมโป แห่งแคว้นถู่ฟาน(ทิเบตในปัจจุบัน) ที่รวบรวมแว่นแคว้นทางตะวันตกเฉียงใต้ไว้ได้ มีกำลังรุ่งเรืองขึ้น ได้จัดส่งราชฑูตมาสู่ขอราชธิดาในถังไท่จงหลายครั้ง ในที่สุดปี ค.ศ. 641 ถังไท่จงตัดสินใจส่งองค์หญิงเหวินเฉิง ที่เพียบพร้อมด้วยความรู้ความสามารถในศาสตร์ศิลป์เดินทางไปเป็นทูตไมตรี ครั้งนี้ องค์หญิงเหวินเฉิงได้นำเอาศิลปะความรู้วิทยาการต่างๆ ของจีนอาทิ อักษรศาสตร์ การดนตรี การเพาะปลูก ทอผ้า การทำกระดาษและหมึก ฯลฯ ไปเผยแพร่ยังดินแดนอันห่างไกลนี้ แคว้นถู่ฟานและราชวงศ์ถังจึงรักษาไมตรีอันดีสืบมา (แม้ว่าภายหลังแคว้นถู่ฟานได้เกิดข้อขัดแย้งกับราชสำนักถังในรัชสมัยต่อมา แต่องค์หญิงเหวินเฉิงยังคงได้รับการเคารพเทิดทูนอย่างสูงในหมู่ชนชาวทิเบต จวบจนปัจจุบัน)  


บูเช็กเทียน

http://www.thaisamkok.com/article-949-%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.html 

เมื่อคริสต์ศักราช 690 บูเช็กเทียนได้ขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์โจว เป็นจักรพรรดินีเพียงองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน

บูเช็กเทียนเกิดในคริสต์ศักราช 624 เมื่ออายุ 14 ปีนางถวายตัวเป็นนางสนมของพระเจ้าถังไท่จงจักรพรรดิองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ถัง เพราะนางเอิบอิ่มด้วยเสน่ห์และความเย้ายวน จึงได้รับพระราชทานนามว่า "เม่ยเหนียง" หมายความว่า "นางผู้ทรงเสน่ห์" ส่วนพระนาม "เจ๋อเทียน" นั้น นางตั้งให้ตัวเองหลังประกาศขึ้นครองราชย์ มีความหมายว่า "ปกครองบ้านเมืองตามกฎธรรมชาติและดูเยี่ยงอย่างฟ้าดิน"

ตามจารีตประเพณีสมัยศักดินาของจีนนั้น "สตรีไร้ความสามารถก็ถือเอาว่ามีคุณธรรม" สำหรับบูเช็กเทียนแล้ว ตั้งแต่วัยเยาว์นางก็แสดงนิสัยใจคอที่มีความแตกต่างจากสตรีอื่นๆ สมัยนั้นพระเจ้าถังไท่จงมีม้าพยศตัวหนึ่ง ไม่มีผู้ใดสามารถฝึกให้เชื่องได้ วันหนึ่ง บูเช็กเทียนกราบทูลพระเจ้าถังไท่จงว่า "ข้าพระองค์สามารถฝึกมันให้เชื่องได้ แต่ต้องการแส้เหล็กและดาบ คือ ใช้แส้เฆี่ยนมันก่อน หากมันไม่เชื่อง ก็ทุบหัวของมัน ถ้ายังไม่เชื่องอีก ก็ใช้ดาบปาดลำคอของมันให้ขาดเสีย" เมื่อพระเจ้าถังไท่จงสดับดังนี้ก็รู้สึกสะเทือนพระทัยยิ่ง ทรงเห็นว่า นางสนมที่อยู่ในกรอบจารีตประเพณีไม่ควรกล่าวคำพูดทำนองดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าถังไท่จงจึงมีความระมัดระมังนางเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม หลี่จื้อรัชทายาทกลับชื่นชอบบูเช็กเทียนผู้มีอายุแก่กว่าตนถึง 4 ปี

เมื่อพระเจ้าถังไท่จงสวรรคตไปแล้ว หลี่จื้อในฐานะรัชทายาทได้สืบพระราชบัลลังก์ขึ้นเป็นพระเจ้าถังเกาจง และโปรดแต่งตั้งบูเช็กเทียนเป็นพระสนมคนโปรด ต่อมาได้เลื่อนศักดิ์สูงขึ้นเป็นพระมเหสีสมความปรารถนาของบูเช็กเทียน

เนื่องจากพระเจ้าถังเกาจงเป็นคนเจ้าอารมณ์และจิตใจลังเลไม่มีความเฉียบขาด ฉะนั้น ก่อนที่บูเช็กเทียนจะขึ้นเป็นพระมเหสีนั้น นางก็มีส่วนช่วยพระเจ้าถังเกาจงในกิจการบ้านเมืองอยู่เนืองๆ เมื่อได้เป็นพระมเหสีแล้ว นางก็ยิ่งทำลายประเพณีที่ห้ามสตรีมีส่วนร่วมในกิจการการเมืองมากขึ้น นางมีส่วนร่วมวางแผนกิจการบ้านเมืองโดยตรง เรื่องสำคัญต่างๆ พระเจ้าถังเกาจงต้องปรึกษากับนางทุกเรื่อง จนขุนนางทั้งหลายถวายพระนามทั้งสองพระองค์ว่า "เอ้อเซิ่ง" หรือ "สองพระบรมราชา"

หลังจากพระเจ้าถังเกาจงสวรรคตแล้ว พระโอรสสององค์ของพระเจ้าถังเกาจงได้ขึ้นครองราชย์ตามลำดับ แต่ผู้ที่กุมอำนาจแท้จริงคือพระนางบูเช็กเทียน เมื่อพระนางบูเช็กเทียนทรงพระชนมายุ 67 พรรษา พระนางได้เลิกล้มจักรพรรดิหุ่น ประกาศเปลี่ยนชื่อราชวงศ์จาก "ถัง" มาเป็น "โจว" และได้อภิเษกขึ้นครองราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดินีองค์เดียวในประวัติศาสตร์ จีน

จักรพรรดินีบูเช็กเทียนทรงพระปรีชาสามารถในการปกครองบ้านเมือง พระองค์ส่งเสริมการเกษตร ลดหย่อนภาษี นอกจากนี้ ยังทรงมีพระราชกรณียกิจเลี้ยงไหมและทำนาด้วยพระองค์เอง ทรงเป็นตัวอย่างแก่ขุนนางทั้งหลายในการเห็นอกเห็นใจประชาชน บูเช็กเทียนทรงครองราชสมบัติ 15 ปี ภายใต้การปกครองของพระนาง ประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถังมีกำลังเข้มแข็งเกรียงไกร มีเสถียรภาพทางสังคม มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสามารถตีทัพศัตรูที่เข้ามารุกรานให้ถอยกลับไปได้สำเร็จหลายครั้ง

จักรพรรดินีบูเช็กเทียนทรงพระชนมายุได้ 82 พรรษา ก่อนสวรรคต พระนางทรงสละราชสมบัติให้แก่พระโอรส และรื้อฟื้นราชวงศ์ "ถัง" ขึ้น หลังจากพระนางสวรรคตแล้ว พระศพของพระองค์ได้ฝังไว้ร่วมกับพระเจ้าถังเกาจงพระสวามี ณ สุสานหลวงเฉียงหลิงมณฑลส่านซีภาคตะวันตกของจีน และได้สร้างศิลาจารึกไร้อักษรไว้หน้าสุสานด้วย  

เปาบุ้นจิ้น

http://www.thaisamkok.com/article-950-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99.html

"ต่อต้านข้าราชกาลฉ้อราษฏร์บังหลวง กำจัดอิทธิพลท้องถิ่น" เป็นเอกลักษณ์เด่นที่สุดของเปาบุ้นจิ้น และเป็นผลงานที่ลำลือกันในหมู่ประชาชน ในประวัติศาสตร์จีน เปาบุ้นจิ้นเป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์ในระยะเวลาสามสิบปีที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้ พิพากษา มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ถูกลดยศตำแหน่งปลดออก

จากราชการ จนกระทั่งถูกประหารชีวิตไม่ต่ำกว่าสามสิบคน
เปาบุ้นจิ้น เป็นชาวเมืองหุ้นหนำกุ้ย ขึ้นกับเมืองกุยจิวเสีย อยู่ตำบลเปาเก แซ่เปา ชื่อบุ้นจิ้น เป็นบุตรชายของเปาเบ๊ะบ้วน และนางหลีสี อันหยิน มีพี่ชายสองคน คือเปาบุ้นกุ้ย และ เปาบุ้นลุ้ย
เปาบุ้นกุ้ยเป็นพี่ชายคนโต มีภรรยาชื่อนางหลิวสี เปาบุ้นลุ้ยเป็นพี่ชายรอง มีภรรยาชื่อนางกังสี ส่วนเปา

บุ้นจิ้น มีภรรยาชื่อ นางเตียวกุยกี
ในช่วงที่เปาบุ้นจิ้นเกิดปรากฎว่า มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั้งบ้าน พอคลอดออกมาร้อง อุแว้ อุแว้ แสงสว่างได้ส่องกระจายไปทั่วบ้าน แสดงว่ามีคนดีมาเกิด และคนดีคนนี้จะสร้างความสงบสุขให้แก่บ้านเมือง
เป็นที่พึ่งพิงของราษฎรได้ในภายหน้า
ดังที่เปาบุ้นจิ้นได้กล่าวไว้ เค้าเกิดในครอบครัวที่ไม่ร่ำรวย ในวันที่มารดาของเปาบุ้นจิ้น คลอดท่านนั้น นางยังต้องไปตัดฟืนในป่า ครั้นเมื่อเปาบุ้นจิ้นอยู่ในวัยหนุ่ม ถึงแม้ว่าจะยังมีโอกาสได้เรียนหนังสือ ต่อมาท่านได้เข้าสอบจอหงวน แต่ขณะนั้นมารดาท่านได้เสียชีวิตไป และท่านได้ไว้ทุกข์ให้มารดาที่บ้านเป็นเวลานานถึงสิบปี จนกระทั่งอายุได้ 29 ปี จึงไปเข้ารับราชการ เนื่องจากเปาบุ้นจิ้นใช้ชีวิตคลุกคลีกับชาว

บ้านเป็นเวลานาน จึงเข้าใจความทุกข์ของชาวบ้านเป็นอย่างดี
ถ้าพูดถึงการตัดสินคดีความของท่านแล้ว นับว่าไร้เทียมทานท่านเป็นตุลาการที่เที่ยงธรรมที่สุด เพราะท่านไม่ได้อ่านเฉพาะคำฟ้องเท่านั้น แต่ท่านพยายามไขว่คว้าพยานหลักฐานมาด้วยตนเองท่านออกพบปะประชาชน ค้นหาความจริงนอกบัลลังก์ศาล คำพิพากษาของท่านจึงบริสุทธิ์ ไม่มีใครสงสัยท่านจึง

ได้ชื่อว่าเป็น “ เทพเจ้าแห่งความยุติธรรม ”
ในฐานะเป็นขุนนางผู้ใหญให้คำ ปรึกษาแก่องค์ฮ่องเต้ เปาบุ้นจิ้นกระทำหน้าที่นี้ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

อย่างแท้จริง อันไหนควรก็บอกว่าควร อันไหนไม่ควรก็บอกว่าไม่ควร
เปาบุ้นจิ้นกล้าขัดพระทัยองค์ฮ่องเต้ ถ้าพระองค์จะทรงกระทำในสิ่งที่ผิด กล้าแนะนำองค์ฮ่องเต้ในสิ่งที่ถูก ทำให้องค์ฮ่องเต้ไม่กล้ากระทำผิด ทรงมีหริโอตตัปปะมากขึ้น ดำรงพระองค์อยู์ในทศพิธราชธรรม และรักรราษฎรมากขึ้น เห็นราษฎรเป็นเหมือนลูกหลาน ที่จะต้องทรงรักษาดูแลให้อยู่เย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า

เจิ้งเหอ

http://www.thaisamkok.com/images/profilePic/zhenghe.jpg

เดิมทีนั้นเจิ้งเหอมีชื่อว่า "ซานเป่า แซ่หม่า" เกิดที่มณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นเขตแดนของมองโกลทางตอนใต้ของประเทศจีน เมื่อปี ค.ศ.1371 แต่ก่อนแซ่หม่า เรียกว่า หม่าเหอ (คงเพี้ยนมาจาก มาสูฮฺ) เจิ้งเหอมีพี่น้อง 5 คนเป็นชาย 1 คน หญิง 4 คน เมื่อหม่าเหออายุได้ 12 ปี ตรงกับช่วงที่กองทัพของจักรพรรดิหงอู่ หรือจูหยวนจาง ปฐมราชวงศ์หมิงนำกำลังทัพเข้ามาขับไล่พวกมองโกล ที่มาตั้งราชวงศ์หยวนออกจากประเทศจีน ทำการยึดครองยูนานเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรหมิงได้สำเร็จ ในเวลานั้นหม่าเหอได้ถูกจับตอนเป็นขันทีมีหน้าที่รับใช้เจ้าชายจูตี้ จนได้รับความไว้วางใจอย่างสูง ช่วงสงครามแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างเอี้ยนหวังจูตี้กับหมิงฮุ่ยตี้ กษัตริย์ที่สืบราชบัลลังก์ต่อจากหมิงไท่จู่ เจิ้งเหอมีส่วนสำคัญช่วยให้จูตี้ได้รับชัยชนะขึ้นสู่บัลลังก์เป็นจักรพร รดิหมิงเฉิงจู่ มีชื่อรัชกาลว่า "หย่งเล่อ" และได้รับการสนับสนุนเป็นหัวหน้าขันที ต่อมาได้รับพระราชทานแซ่เจิ้ง จึงเรียกขานว่า "เจิ้งเหอ" แต่ชื่อที่รักจักกันดีก็คือ ซันเป่ากง หรือ ซำปอกง


http://www.thaisamkok.com/article-951-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%AD.html

การเดินเรือสำรวจทางทะเลในระยะเวลา 28 ปี กองเรือของเจิ้งเหอออกสำรวจทางทะเลรวม 7 ครั้ง เดินทางมากกว่า 50,000 กิโลเมตร ท่องต่างแดนมากกว่า 37 ประเทศ เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1405 ( พ.ศ. 1948) ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช แห่งราชวงศ์อู่ทองปกครองกรุงศรีอยุธยา เจิ้งเหอทำหน้าที่ผู้บังคับกองเรือสำเภาขนาดใหญ่ เรียกว่า "เป่าฉวน" แปลว่า "เรือมหาสมบัติ" ต่อขึ้นที่เมืองนานกิง อดีตเมืองหลวงอันเก่าแก่ของจีนเป็นอีกสถานที่หนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของ "อู่ต่อเรือ" ใช้ในการเดินเรือของเจิ้งเหอ เรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอยาว 400 ฟุต ขนาดใหญ่กว่าเรือซานตา มา
เรีย ของโคลัมบัสที่ยาวเพียง 85 ฟุต ถึง 5 เท่า
การเดินทะเลในครั้งแรกมีเรือขนาดใหญ่ตามไปด้วย 60 ลำ ขนาดเล็ก 255 ลำ มีลูกเรือทั้งหมด 27,870 คน แล่นเลียบชายฝั่งฟุเกี้ยน ผ่านไปยังอาณาจักรจามปา ชวา มะละกา เซมูเดรา และแลมบรีทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา จากนั้นเดินทางต่อไปยังเกาะลังกา กาลกัติ ขากลับได้นำคณะทูตจากเมืองเหล่า
นี้มาเข้าเฝ้าฯ จักรพรรดิหย่งเล่อ
ในการเดินเรือแต่ละครั้ง ขากลับจะนำเครื่องบรรณาการจากเมืองต่าง ๆ มาถวายจักรพรรดิหย่งเล่อ โดยเฉพาะสัตว์จากหลาย ๆ เมืองที่ผ่าน อย่างเช่นขากลับจากการเดินเรือทางทะเลในครั้งที่ 5 เจิ้งเหอได้นำสิงห์โต เสือดาว นกกระจอกเทศ ม้าลาย และยีราฟ (โดยบอกว่าเป็น กิเลน) กลับไปถวายแด่จักรพรรดิหย่งเล่อ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบมาก และกลายเป็นของแปลกและน่าตื่นเต้นสำหรับชาวจีนที่พบเห็นเป็นครั้งแรกต้นปีถัดมาเจิ้งเหอก็เริ่มออกเดินทางในครั้งที่ 2 เวลานั้นอายุ 36 ปี "ครั้งที่ 3 อายุ 38 ปี ครั้งที่ 4 อายุ 42 ปี ครั้งที่ 5 อายุ 46 ปี ครั้งที่ 6 อายุ 50 ปี ครั้งที่ 7 อายุ 60 ปี โดยครั้งสุดท้ายมีจำนวนลูกเรือ 27,550 
คน ไปไกลถึงแอฟริกา
ภายหลังการเดินเรือทางทะเลในครั้งที่ 7 สิ้นสุดลง จากนั้นจีนก็หยุดดำเนินการสำรวจทางทะเล ส่วนเจิ้งเหอได้สิ้นชีวิตลงในปีค.ศ 1432 ที่อินเดีย แต่มีการสร้างหลุมฝังศพจำลองของเขาอยู่บนภูเขาในเมืองนานกิง ไม่มีศพอยู่ในนั้น มีเพียงเส้นผมและเสื้อผ้าที่เคยใช้เท่านั้น ก่อสร้างตามแบบประเพณีมุสลิม เรียกว่า เจิ้งเหอมู่ หรือ สุสานเจิ้งเหอ ซึ่งได้รับการบูรณะใหม่ในปี 1985
ในเมืองไทย เจิ้งเหอเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เจ้าพ่อซำปอกง (ซานเป่ากง). วัดซำปอกง หรือชื่อทางการ วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาเหตุที่ชาวจีนมาเซ่นไหว้วิญญาณซำปอกงที่วัดกัลยาณมิตรเป็นเพราะความเข้าใจ ผิด กล่าวคือ ชาวจีนผู้นับถือพุทธศาสนากลุ่มหนึ่งได้นมัสการหลวงพ่อโตที่วัดกัลยาณมิตร แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เขียนหนังสือจีนไว้ที่หน้าวิหารว่า ' ซำปอฮุดกง ' ซึ่งแปลว่าพระเจ้า 3 พระองค์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ชาวจีนกลุ่มที่นับถือซำปอกง อ่านเห็นเป็น ' ซำปอกง ' จึงคิดว่าเป็นสถานที่เซ่นไหว้วิญญาณของซำปอกง และได้มาเซ่นไหว้ซำปอกงเรื่อยมา

จักรพรรดิ์คังซี

http://www.thaisamkok.com/article-952-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%B5.html

จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์แมนจู ฮ่องเต้คังซี ประสูติเมื่อปีค.ศ. 1654 เป็นโอรสฮ่องเต้ชุนจื้อ ซึ่งเป็นราชโอรสของจักรพรรดิจุงเต๋อ (ไท่จงฮ่องเต้) ซึ่งเป็นโอรสของนรูฮาจีอีกทีหนึ่ง ซึ่งก็คือเป็นเหลนของท่านข่านนารูจี หรือบูรฮาจี ผู้นำเผ่าแมนจูที่รวบรวมดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนและพยายามบุกเข้า ยึดดินแดนภาคกลางโค่นราชวงศ์หมิง ซึ่งมาสำเร็จสมัยฮ่องเต้ซุนจื้อ ฮ่องเต้คังซี ครองราชวงศ์ด้วยวัยเพียง 7 พรรษา และทรงว่าราชการด้วยพระองค์เองในวัยเพียง 13 พรรษา ซึ่งเป็นช่วงเวลาวิกฤตของการต่อสู้ระหว่างชาวฮั่นที่ต้องการกู้ราชวงศ์หมิง รวมถึงชนเผ่าอื่นๆที่ต้องการก่อกบฏ ฮ่องเต้คังซีทำสงครามภายในประเทศยาวนานถึง 8 ปี จึงพิชิตแคว้นต่างๆได้ราบคาบ ก่อนที่พระองค์จะมี
พระชนมายุ 30 พรรษา ทั้งขยายอาณาเขตถึงมองโกเลียและทิเบต
หนึ่งในนโยบายสร้างความมั่นคงก็คือ สร้างสัมพันธ์กับชาวแมนจูที่อาศัยทางเหนือแต่เดิมให้แข็งแกร่ง ส่งอาวุธและกำลังพลไปรักษาชายแดนแถบนี้บ่อยครั้งเพื่อป้องกันการรุกรานจากชน เผ่าอื่น
ขณะเดียวกันเสด็จประพาสดินแดนทางใต้ถึง 6 ครั้ง เพื่อทอดพระเนตรความเจริญ รุ่งเรืองด้านศิลปะและวิชาการของแดนใต้ และสำรวจปัญหาน้ำท่วมไร่นาของชาวนา ซึ่งต่อมาทรงส่งเสริม การสร้างเขื่อนและ
ให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรกับชาวนา
จักรพรรดิคังซีเป็นคนที่เฉลียวฉลาดมากองค์หนึ่ง ทรงศึกษาความผิดพลาดของพวกมองโกล ช่วงที่ปกครองชาวฮั่น จึงเปลี่ยนจากวิธีการใช้ไม้แข็งเป็นไม้อ่อน เกลี้ยกล่อมให้เหล่าปราชญ์ราชบัณฑิตที่หนีภัยช่วงหมิงสิ้นอำนาจกลับมารับ ราชการใหม่ ทรงสถาปนากรมจิตรกรรมที่รู้จักในนามสถาบันจิตรกรรมหัวหยวน คล้ายที่เคยมีในสมัยราชวงศ์ซ้อง นอกจากนี้ทรงดูแลเหล่าปราชญ์และศิลปินอย่างเกษมสำราญ มอบหมายงานให้ทำอย่างเต็มที่ ไม่วาด้านสถาปัตยกรรมหรือประวัติศาสตร์ เป็นต้น
ชีวิตส่วนพระองค์ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นนักรักพระองค์หนึ่ง ทรงมีสนมราว 35 คน พระโอรสและธิดาราว 55 องค์จนเกิดชิงบัลลังก์เป็นที่วุ่นวาย สุดท้ายองค์ชาย 4 ได้ขึ้นครองบัลลังก์เป็นฮ่องเต้หย่งเจิ้น

ดร.ซุนยัดเซ็น

http://www.thaisamkok.com/article-953-%E0%B8%94%E0%B8%A3.%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B9%87%E0%B8%99.html

เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1866 ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1925 สิริอายุ 59 ปี ท่านเกิดในยุคปลายราชวงศ์ชิงช่วงเวลาที่ฉือสี่ไท่โฮ่ว ( ซูสีไทเฮา) มีอำนาจเหนือราชบัลลังก์แห่งราชวงศ์ชิง ของชาวแมนจู ซุนจงซานไม่พอใจการปกครองอันกดขี่ขูดรีดของราชสำนักชิงที่นำประเทศจีนไปสู่ ความตกต่ำด้วยการพ่ายแพ้ยุทธนาวีแก่ญี่ปุ่นอย่างย่อยยับเมื่อค.ศ. 1895 ถึงขั้นต้องทำสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ยกเกาะไถวาน (ไต้หวัน) ของจีนให้ญี่ปุ่นครอบครอง ต่อมายังถูกกองทัพพันธมิตร 8 ชาติรวมหัวกันย่ำยีประเทศจีนอีกด้วยการบุกเข้าปล้นชิงและเผาผลาญพระราชวัง หยวนหมิงหยวน อันแสนวิจิตรตระการตาจนแหลกลาญ ทำให้เกียรติภูมิของชาวจีนตกต่ำมากในยุคนั้น
ดอกเตอร์ซุนได้รับการศึกษาแพทย์ศาสตร์ที่ฮ่องกง ตามแบบอย่างตะวันตก และเคยไปศึกษาต่อที่มลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา ได้พบเห็นความเจริญก้าวหน้าของฝรั่ง จึงต้องการที่จะปฏิรูปการเมืองการปกครอง
 ให้ทันสมัยเหมือนอย่างชาวตะวันตก
ในตอนแรกได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลแมนจูโดยสันติวิธี แต่ถูกปฏิเสธอย่างไม่ใยดีจากผู้ปกครองแผ่นดินที่มีหัวคิดไดโนเสาร์ ท่านจึงหันมาก่อตั้งพรรคการเมืองที่ต่อมาเรียกกว๋อหมินต่าง ( ก๊กมินตั๋ง) เพื่อปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองของจีนให้เป็นประเทศพัฒนาแบบ ประชาธิปไตย และทำได้สำเร็จเมื่อ
 วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1911
ท่านได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศสาธารณรัฐจีน เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 และได้รับการยกย่องเป็นกว๋อฟู่ บิดาแห่งประเทศจีนยุคใหม่
น่าเสียดายที่ท่านดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศจีนใหม่ได้ไม่นานนัก ก็ยอมสละตำแหน่งเปิดทางให้จอมวายร้ายหยวนซื่อไข่ อดีตนายกรัฐมนตรีของราชสำนักชิง มารับตำแหน่งประธานาธิบดีแทน
จอมแสบหยวนซื่อไข่ได้เป็นประธานาธิดีแล้วยังเหิมเกริมฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตย ขึ้นมาอีกยกตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ แต่อยู่ได้เพียง 83 วันก็ตายลงกะทันหันจากเสียงก่นด่าสาปแช่งของคนทั้งประเทศ
แผ่นดินจีนตกอยู่ในสภาพจลาจลไร้ขื่อแป ดอกเตอร์ซุนพยายามกอบกู้บ้านเมืองให้พ้นสถานการณ์เลวร้าย แต่ยังไม่ทันสำเร็จ ก็ด่วนถึงแก่อสัญกรรมทิ้งแผ่นดินจีนกว้างใหญ่ให้ตกอยู่ท่ามกลางการช่วงชิง อำนาจของขุนศึกกลุ่มต่าง ๆ

เหมาเจ๋อตุง

http://www.thaisamkok.com/article-954-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%8B%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%87.html

เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1893 เกิดหลังเจียงไกเช็ก 6 ปีและตายหลังเจียงไกเช็ก 1 ปี เมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1976 สิริอายุได้ 83 ปี ท่านจบการศึกษาจากวิทยาลัยครูหูหนาน ด้วยดีกรีเกียรตินิยม และไม่พอใจการปกครองอันกดขี่ขูดรีดทั้งในยุคราชวงศ์ชิงและยุคขุนศึกชิงแผ่น ดินของการปกครองในระบอบสาธารณรัฐยุคต้น จึงเข้าป่าซ่องสุมผู้คนประกอบด้วยเกษตรกรและผู้ใช้แรงงานรวมตัวกันเป็นกอง ทัพปลดปล่อยประชาชนเพื่อต่อสู้กับรัฐบาลขุนศึกจอมพลเจียงไกเช็กโดยตั้งกอง ทหารขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1927 ซึ่งปัจจุบันได้กลายมาเป็นวันกองทัพจีน
พรรคคอมมิวนิสต์จีนต่อสู้กับรัฐบาลขุนศึกของจอมพลเจียงไกเช็กและกองทัพญี่ปุ่นผู้รุกรานอย่างดุเดือดเลือดพล่าน
ในที่สุดสามารถยึดอำนาจรัฐได้สำเร็จและตั้งรัฐบาลอยู่ที่กรุงปักกิ่งเมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 โดยใช้ชื่อเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จงหวาเหยินหมินก้งเหอกว๋อ และมีเหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำสูงสุดคนแรกปกครองแผ่นดินจีนที่มีพื้นที่ 9,600,000 ตารางกิโลเมตร
ฝ่ายจอมพลเจียงไกเช็กได้อพยพไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นอยู่ที่เกาะไต้หวันในนาม รัฐบาลสาธารณรัฐจีน จงหวาหมินกว๋อ โดยสถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกของไต้หวันที่มีพื้นที่ 36,000 ตารางกิโลเมตร

โจวเอินไหล

http://www.thaisamkok.com/article-955-%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5.html

มีภูมิลำเนาเป็นชาวเมืองเส้าซิง มณฑลเจ้อเจียง ในขณะที่ความจริงแล้ว เขาเกิดที่เมืองหวยอัน มณฑลเจียงซู ในวันที่ 5 มีนาคม ปีค.ศ. 1898 ซึ่งเป็นรกรากของฝ่ายมารดา บรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนของตระกูลโจวที่เมืองเส้าซิงนี้ ล้วนเป็นที่ปรึกษาให้กับข้าราชการในเมือง ซึ่งอาชีพดังกล่าวได้รับความนิยมสูงสุดจนรับรู้กันว่ามีชาวเส้าซิงมากมายที่ ประจำอยู่ตามหน่วยงานราชการทั่วประเทศของจีน นอกเหนือไปจากการเป็นพ่อค้า โจวรำลึกถึงผู้ให้กำเนิดของตนว่า ยายของเขาเป็นหญิงชาวนาในชนบทของหวยอิน ดังนั้น ในร่างกายเขาก็มีเลือดของชาวนาไหลเวียนอยู่ด้วย ส่วนมารดานั้นเป็นผู้หญิงที่มีหน้าตางดงาม และจิตใจอ่อนโยน แต่น่าเสียดายที่ต้องเสียชีวิตตั้งแต่ยังสาวเมื่อมีอายุได้เพียง 35 ปี เนื่องจากป่วยเป็นวัณโรค อันมีสาเหตุมาจากการทำงานหนักเกินไปหลังจากที่ปู่เสียชีวิตลงโดยไม่เหลือ มรดกไว้ให้ครอบครัวเลย
ปู่ของโจวเสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 50 ปี ในช่วงที่มีชีวิตอยู่ก็ไม่ได้สร้างทรัพย์สมบัติใดๆไว้ มีเพียงบ้านที่อาศัยเท่านั้น เมื่อมาถึงรุ่นพ่อ ครอบครัวก็ถึงคราวลำบาก ซึ่งทั้งบิดาและอาของเขาต่างรับราชการ โดยบิดาของโจวมีตำแหน่งเป็นผู้ดูแลด้านเอกสาร ส่วนอาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษา ซึ่งรวมกันแล้วรายได้ก็ยังไม่เพียงพอเลี้ยงครอบครัว
แต่ด้วยการเป็นครอบครัวระบบศักดินาที่ต้องรักษาเกียรติยศและหน้าตา จึงไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่านั้น ดังนั้น โจวจึงตระหนักดีถึงความยากลำบากของการดำรงชีวิตมาตั้งแต่ยังเด็ก ทั้งนี้เพราะเมื่อบิดามักออกเดินทางไปต่างเมือง เขาในฐานะลูกชายคนโตของบ้านจึงต้องรับผิดชอบเรื่องจุกจิกภายในครอบครัว ตั้งแต่อายุเพียง 10 ขวบ ซึ่งโจวกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ‘ เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์แห่งชีวิต '
โจวเอินไหลยังเท้าความถึงอดีตว่า หลังจากที่เขาลืมตามาดูโลกไม่นาน บิดาก็ป่วยหนัก ซึ่งตามธรรมเนียมจีนแล้ว จำต้องยกเขาให้เป็นบุตรของอา เนื่องจากถือว่าดวงชะตาไม่สมพงษ์กับผู้ให้กำเนิด โจวจึงได้รับการอบรมจากอาสะใภ้ที่เป็นผู้หญิงมีการศึกษา และรู้จักกับวรรณกรรมจีนที่มีชื่อเสียงตั้งแต่อายุได้เพียง 5 ขวบ พร้อมไปกับการเล่าเรียนหนังสือที่บ้าน จน 8 ขวบก็เริ่มต้นอ่านงานเขียนเด่นของจีน โดยวรรณกรรมเรื่องแรกที่อ่าน ได้แก่ ไซอิ๋ว ตามด้วย พรหมลิขิตบุปผากระจก วีรบุรุษเขาเหลียงซัน และความรักในหอแดง
เมื่ออายุ 12 ขวบ ชะตาชีวิตของโจวก็มาถึงจุดพลิกผัน เมื่อเขาต้องออกจากบ้านไปยังเมืองเถี่ยหนิงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากบิดาและลุงทำงานอยู่ที่นั่น และการออกจากบ้านครั้งนี้ได้สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับเขา เป็นจุดเปลี่ยนจากสิ่งแวดล้อมในครอบครัวศักดินามาสู่การได้รับการศึกษาแบบ ตะวันตก ทั้งยังได้เริ่มสัมผัสกับหนังสือที่เกี่ยวกับการปฏิวัติ จากการแนะนำของเกาเกออู ครูสอนประวัติศาสตร์ผู้มีหัวใจปฏิวัติ
ถ้อยคำของโจวเอินไหลที่กล่าวถึงทัศนะของเขาที่มีต่อการปฏิวัติครั้งหนึ่ง มีว่า ‘ ถูกบังคับให้ขึ้นเขาเหลียงซัน ' ซึ่งเป็นคำที่มาจากหนังสือเรื่องวีรบุรุษเขาเหลียงซัน โจวขยายความว่า “ นักปฏิวิติก็คือผู้ที่ถูกบังคับให้ขึ้นเขาเหลียงซัน เพราะการที่คนเราจะเดินเข้าสู่วิถีการปฏิวัติย่อมไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ แต่เป็นเพราะแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก ”
จนอายุได้ 15 ปี (ค.ศ.1913) โจวก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมหนันไค เมืองเทียนจิน ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนและให้อิสระด้านความคิดแก่นักเรียน ที่นี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นให้โจวเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ด้วยการเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ต่อต้านประธานาธิบดีหยวนซื่อข่าย ในปี 1915 เมื่อจบจากหนันไคในปี 1917 โจวเบนเข็มไปศึกษาต่อที่ญี่ปุ่น เป็นเวลา 1 ปีครึ่ง และกลับมายังมาตุภูมิเมื่อ ‘ ความเคลื่อนไหว 4 พฤษภาคม ' ปี 1919 ปะทุขึ้น โดยโจวก็ได้มีส่วนร่วมเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สมาพันธ์นักเรียนเทียนจิน แต่สิ่งพิมพ์ฉบับนี้ก็ถูกปิดไป และโจวถูกจับกุมตัวไปขังคุกอยู่ถึงครึ่งปี หลังจากที่ถูกปล่อยตัวออกมาในปี 1920 เขาก็มุ่งหน้าไปยังฝรั่งเศส
ในเวลานั้น โจวยอมรับว่าเขายกย่องแนวทางการปฏิวัติ และโน้มเอียงไปทางสังคมนิยม แต่เนื่องจากเขาเติบโตในครอบครัวแบบศักดินา จึงมองว่าการปกครองแบบสังคมนิยมเป็นแนวคิดในอุดมคติ อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่เคยผ่านความยากลำบากในวัยเด็ก จึงเข้าใจหลักคิดวัตถุนิยมได้ในเวลาไม่นานนัก ครั้งเมื่ออยู่บนแผ่นดินใหญ่ โจวก็เคยได้อ่านหนังสือ ประกาศของพรรคคอมมิวนิสต์ หลักการแนวคิดคอมมิวนิสต์ มาแล้ว ยามที่อยู่ฝรั่งเศสก็ได้อ่าน War of the Classes ซึ่งทั้งหมดล้วนมีอิทธิพลต่อความคิดโจวอย่างใหญ่หลวงทั้งสิ้น
หวนระลึกถึงเหตุผลของการเลือกไปเรียนที่ฝรั่งเศสว่า ในปีนั้นเป็นปีที่สงครามโลกครั้งที่ 1 เพิ่งสงบลง จึงคิดว่าหากไปฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศชนะสงคราม ก็น่าจะเรียนและทำงานไปได้พร้อมกัน แต่เขาก็ไม่ต้องออกไปหางานทำอย่างที่คิด เนื่องจากก่อนหน้านั้นมีดีกรีเป็นนักหนังสือพิมพ์อยู่แล้ว ก่อนออกเดินทางจึงทำสัญญาเป็นนักข่าวนอกสถานที่กับหนังสือพิมพ์อี้ซื่อ ดังนั้น เมื่อไปถึงแดนน้ำหอมจึงเรียนและต่อยอดการเป็นนักหนังสือพิมพ์เขียนบทความ กลับมายังแผ่นดินใหญ่
ช่วงเวลาที่อยู่ในฝรั่งเศสนี่เอง โจวเอินไหลก็ยังคงมีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับการเมืองไม่ขาดสาย เขาได้ร่วมกับพรรคพวกอีกกว่า 20 คน เช่น หวังรั่วเฟย หลัวม่าย ก่อตั้งเป็นกลุ่มเยาวชนจีนแนวคิดคอมมิวนิสต์ในยุโรป กลุ่มนี้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ไม่นานนักก็มีสมาชิกถึง 300 คน ซึ่งก็มีทั้งนักศึกษาจีนที่อยู่ในฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ และเบลเยี่ยมด้วย ในจำนวนนี้ต่อมาเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์จีนถึงกว่า 100 คน
โจวเล่าต่อว่า ในปี 1923 ซึ่งเป็นช่วงที่พรรคคอมมิวนิสต์และก๊กมินตั๋งจับมือกันเพื่อร่วมพัฒนาประเทศ โจวเอินไหลและหวังจิ่งซีก็ได้จัดตั้งพรรคก๊กมินตั๋งสาขายุโรป ซึ่งขณะนั้นฝ่ายตรงข้ามที่สำคัญคือพรรคยุวชน ที่มีความคิดแนว Nationalism – ชาตินิยมและต่อต้านก๊กมินตั๋ง
ในปี 1924 โจวเอินไหลก็กลับมายังมาตุภูมิ และเข้าเรียนยังโรงเรียนทหารและการปกครองหวงผู่ เมืองกว่างโจว มณฑลกว่างตง และก็ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้บัญชาการแผนกการเมือง ในปี 1925
โจวย้อนถึงเหตุการณ์ช่วงนั้นว่า ขณะนั้น เขาไม่ได้เป็นสมาชิกของก๊กมินตั๋งแล้ว ทั้งยังเปิดเผยว่าตัวเองเป็นคนของพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเต็มตัวแต่ทำงานร่วม กับก๊กมินตั๋ง ดังนั้น จึงรู้จักกับคนของก๊กมินตั๋งไม่น้อย ในช่วงนั้นภายในก๊กมินตั๋งเองก็แบ่งออกเป็นสองค่าย คือ ฝ่ายที่คิดว่าควรร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์กับฝ่ายที่ต่อต้านความคิดดัง กล่าว ซึ่งที่สองฝ่ายมีการตอบโต้กันอย่างรุนแรงมาก
และแล้วในวันที่ 20 มีนาคม ปี 1926 ก็เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้โจวตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้บังคับบัญชาแล้วลด ระดับเป็นเพียงอาจารย์ธรรมดา เมื่อเจียงไคเช็คใช้ข้ออ้างว่ากองทัพเรือกำลังแปรพักตร์ และได้จับปัญญาชนหัวก้าวหน้าไปหลายคน ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน พรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์ก็แยกจากกันอย่างเด็ดขาด
โจวเอินไหลมีบทบาทสำคัญสำหรับพรรคคอมมิวนิสต์ในช่วงก่อตั้งมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านการรบ หรือการเผยแพร่ความคิดของเหมาเจ๋อตง รวมถึงยังเป็นหนึ่งในกลุ่มบุคคลที่เข้าเจรจากับนายพลเจียงไคเช็คเพื่อเจรจา ยุติสงครามกลางเมือง ร่วมมือกันต้านญี่ปุ่น
เมื่อรัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 โจวเอินไหลก็ได้ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาจนถึงปี 1978 ทำให้คำว่า ‘ นายกโจว ' กลายเป็นคำพูดติดปากของทุกคนเมื่อกล่าวถึงชายผู้นี้ นอกจากนั้น ในช่วงปี 1949 ถึง 1958 โจวเอินไหลยังควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นรองประธานพรรค รองประธานคณะกรรมาธิการทหาร ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาทางการเมือง
งานสำคัญชิ้นหนึ่งของนายกรัฐมนตรีโจว ก็คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงปี 1949-1952 ซึ่งในปลายปี 1952 มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรของจีนเพิ่มสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 1 ( ปี 1953-1957 ) โจวก็รับผิดชอบแผนงาน 156 โครงการที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม อันส่งผลต่อการเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับประเทศจีนในกาลต่อมา
นายกโจวยืนยันมาโดยตลอดว่า การจะทำให้จีนเป็นประเทศสังคมนิยมที่เข้มแข็ง ปัจจัยสำคัญคือความทันสมัยด้านวิทยาศาสตร์ และการสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจก็จำเป็นต้องเริ่มจากสภาพที่แท้จริงของจีนเอง พร้อมกับแสวงหาความสงบและสมดุล
สำหรับชีวิตส่วนตัวแล้ว โจวเข้าพิธีแต่งงานกับสหายเติ้งอิ่งเชาในปี 1925 หลังจากรู้จักกันมาก่อนหน้านั้นถึง 7 ปี และเป็นคู่ทุกข์คู่ยากจนจวบสิ้นอายุขัย นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในวันที่ 8 มกราคม 1976 ที่กรุงปักกิ่ง ท่ามกลางความโศกเศร้าของชาวจีนทั่วโลก ที่อาลัยรักนายกรัฐมนตรีผู้มีความปรารถนาดีอย่างเต็มเปี่ยมต่อชาติบ้านเมือง

http://www.thaisamkok.com/category-54-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น